ประกาศสำนักงานสาสธารณสุขอำเภอองครักษ์ แนวทางการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน พ.ศ.2562

ผู้ป่วยใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย
แม้ว่ายาจะสามารถใช้รักษาให้หายป่วยและทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้เสมอก็คือ ยาทุกชนิดล้วนแล้วแต่มี
อันตรายเช่นเดียวกับที่มีคุณประโยชน์ ดังนั้นก่อนการใช้ยาควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนใช้ทุกครั้ง การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและ
ปลอดภัยเป็นหัวใจของการรักษาโรคซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร

ดังนั้นเราจึงควรรู้ถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อ ลดความเสี่ยงและได้รับประโยชน์จากการใช้ยาอย่างสูงที่สุดมี 5 ประการ ได้แก่
1. คุยกับแพทย์ เภสัชกร เพื่อบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเรา เช่น
• ท่านมีประวัติการแพ้ยาอะไรหรือไม่ ควรจำชื่อยาให้ได้ และแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าแพ้ยาชนิดใด
• ระหว่างนี้คุณได้รับประทานยาหรืออาหารเสริมอื่นๆร่วมอยู่ด้วยหรือไม่
• ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง เพราะยาบางตัวนั้นส่งผลกระทบถึงลูกในครรภ์หรือไหลออกมาพร้อมกับน้ำนมแม่ก็ได้
• คุณมีข้อจำกัดบางประการในการใช้ยา เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยาหรือกลืนยาได้ยาก แพทย์หรือเภสัชกรจะได้เปลี่ยนรูปแบบยาเพื่อให้สะดวกในการรับประทานมากขึ้น หรือมีอาชีพที่ต้องขับรถเดินทางไกล ทำงานกับเครื่องจักรซึ่งอันตราย จึงไม่สามารถทานยาที่ทำให้ง่วงได้
• หากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจ ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรให้ละเอียด ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงในการใช้ยาผิดๆได้
2. เมื่อได้รับยาแล้ว ควรทำความรู้จักกับยาที่ใช้ให้มากที่สุด เช่น
• จำชื่อสามัญทางยาและชื่อทางการค้าของยาให้ได้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่คุณแพ้ ลดการใช้ยาซ้ำซ้อนและได้รับยาเกินขนาด
• ให้จำลักษณะของยา เช่น สี กลิ่น รูปร่างของเม็ดยา เป็นต้น เมื่อสภาพของยาเปลี่ยนแปลงไปจากเริ่มแรก เช่น สีเปลี่ยน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวเพราะยาเสื่อมสภาพอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
• ฟังอธิบายการใช้ยาจากเภสัชกร เช่น รับประทานเวลาใด จำนวนเท่าไร และควรรับประทานต่อเนื่องนานแค่ไหนเมื่ออยู่ในสถานการณ์ใดที่ควรหยุดยาและผลข้างเคียงหลังจากรับประทานยา
3. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามคำอธิบายอย่างเคร่งครัด
• ควรทำความเข้าใจวิธีการใช้ยาให้ดีและถูกต้อง หากไม่เข้าใจตรงส่วนไหนควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
• ควรอ่านฉลากยาอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าได้รับประทานยาถูกต้อง
• เก็บยาในพื่นที่ที่เหมาะสมตามที่ระบุบนฉลากของยา
• ไม่ควรเก็บยาต่างชนิดกันไว้ในภาชนะเดียวกัน เพราะอาจเกิดการปนเปื้อน ควรหาถุงแยกออกจากกันและไม่ควรเก็บยาสำหรับใช้ภายในและภายนอกไว้ใกล้เคียงกัน เพราะอาจเกิดการสันสบในการใช้ได้
4. หลีกเลี่ยงปฏิกิริยาระหว่างกันของยา
• ถามแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญว่ายาที่คุณรับประทาน มีปฏิกิริยาระหว่างยา อาหาร เครื่องดื่ม หรือ อาหารเสริมหรือไม่
• ทุกครั้งที่จะได้รับยามาใหม่ ควรนำยาเดิมที่รับประทานอยู่ ไปแสดงให้แพทย์หรือเภสัชกร ได้ตรวจสอบและจัดยาใหม่ไม่ให้ซ้ำซ้อนกันและได้ยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. ตรวจสอบผลของยาที่จะเกิดขึ้นและอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
• ควรทราบวิธีการใช้ยา เพื่อลดอาการข้างเคียง เช่นควรรับประทานยาหลังรับประทานอาหารทันที เพื่อลดอาการปวดท้อง
• ให้ความสำคัญกับอาการต่างๆของร่างกาย หากมีสิ่งใดผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
• รู้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา
แม้ว่าการใช้ยามีอันตรายควบคู่ไปกับคุณประโยชน์ แต่การปฏิบัติตนเพื่อลดอันตรายจากการใช้ยาสามารถทำได้ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากจนเกินกว่าที่จะปฏิบัติได้จริง แต่ประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่งและควรระลึกไว้เสมอว่าการที่ท่านมีส่วนร่วมกับแพทย์ เภสัชกร
และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้ยาของตัวท่านเองอย่างใกล้ชิดจะทำให้ท่านมีความปลอดภัยในการใช้ยามากยิ่งขึ้น

สำรวจพฤติกรรมล้างมือ พบปี 57 คนไทยไม่ล้างมือหลังขับถ่ายสูงถึง 88% สธ. ชี้ ล้างมือถูกวิธี 15 วินาที ช่วยลดเชื้อโรคได้ 90% แนะล้างมือ 2 ก่อน 5 หลัง ช่วยสกัดโรค

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 15 ต.ค. ของทุกปี ถูกกำหนดเป็นวันล้างมือโลก เพื่อสร้างวัฒนธรรมการล้างมือให้สะอาด ถูกสุขอนามัย เป็นวิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด โดยเฉพาะโรคทางเดินอาหารและโรคทางเดินหายใจ โดยข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ พบว่า แต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก เสียชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงประมาณ 3.5 ล้านคน และโรคปอดบวมประมาณร้อยละ 25 ส่วนประเทศไทย สำนักระบาดวิทยารายงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 ก.ย. 2558 มีผู้ป่วยอุจจาระร่วง 828,206 คน เสียชีวิต 7 คน และมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 51,546 คน เสียชีวิต 25 คน

นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ขณะนี้แม้ประชาชนจะให้ความสำคัญต่อการป้องกันโรคหลายรูปแบบ ทั้งใช้ผ้าปิดจมูก ใส่ถุงมือ และใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่ฆ่าเชื้อ ฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อ แล้วก็ตาม แต่ยังให้ผลไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการล้างมือเพื่อให้การป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การล้างมืออย่างถูกวิธีเพียง 15 วินาที สามารถลดเชื้อโรคได้ถึงร้อยละ 90 สธ. จึงมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนล้างมือด้วยน้ำสะอาดและฟอกสบู่ เพื่อลดการป่วยจากโรคติดเชื้อ ให้ยึดหลักล้าง “2 ก่อน 5 หลัง” คือ ก่อนรับประทานอาหาร ก่อนเตรียมหรือปรุงอาหาร ล้างเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับ สัมผัสสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วย หลังสัมผัสสัตว์เลี้ยง และหลังจากกลับจากนอกบ้าน โดยผลการสำรวจพฤติกรรมการล้างมือของคนไทยวัยทำงานอายุ 15 ขึ้นไป โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพในปี 2557 พบว่า ไม่ได้ล้างมือหลังขับถ่ายสูงถึงร้อยละ 88

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. กล่าวว่า วันล้างมือโลกปีนี้ สธ .รณรงค์ให้ประชาชนไทยทุกคนหันมาใส่ใจล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้ง และให้กรมอนามัยส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด หน่วยงานราชการ ศูนย์การค้า ศูนย์อาหาร ตลาดสด เป็นต้น จัดสถานที่ อ่างล้างมือ และสบู่ล้างมือ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนล้างมือ มั่นใจว่า หากประชาชนทุกคนมีค่านิยมล้างมือจนติดเป็นนิสัยแล้ว จะทำให้การเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อ รวมทั้งจากพิษต่าง ๆ ลดลงในที่สุด ทั้งนี้ การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ที่ถูกวิธี มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ฝ่ามือถูกัน 2. ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว 3. ฝ่ามือถูฝ่ามือและถูซอกนิ้วมือ 4. หลังนิ้วถูฝ่ามือ 5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ 6. ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ และ 7. ถูรอบข้อมือ ทุกขั้นตอนให้ทำซ้ำกัน 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง จะทำให้มือสะอาด

20170105_085619

20170105_094118

20170105_094208

20170105_095409

20170105_095502

20170105_100701

20170105_101255

20170105_101347

20170105_103322

1483582948808

1483587041779

1483593176883

1483593195708

 

426

427

428

425


Scroll to Top