โรคติดต่อ ที่เราควรรู้จักมีอะไรบ้าง เข้าใจอาการกันไว้ เพราะโรคติดต่อเหล่านี้อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

…………ขึ้นชื่อว่า “โรค” แล้วคงไม่มีใครอยากเป็นแน่นอน ยิ่งถ้าเป็น “โรคติดต่อ” แล้ว ยิ่งเพิ่มความน่ากลัวและอันตรายต่อบุคคลรอบข้างเข้าไปอีก ไหนมาดูสิว่า “โรคติดต่อ” คืออะไร และ “โรคติดต่อ” ที่เราควรรู้จักไว้มีอะไรบ้าง

 …………โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของโรค และถึงแม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อนั้น ๆ ขึ้น

 …………สำหรับในประเทศไทยเป็นบริเวณร้อนชื้น จึงทำให้เชื้อโรคและแมลงที่เป็นพาหะนำโรคเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ง่าย ประเทศเขตร้อนจึงพบโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ มากกว่าประเทศที่มีอากาศหนาว โดยโรคที่พบบ่อยในแถบเขตร้อน จะเรียกรวมว่า “โรคเขตร้อน” (Tropical Diseases) ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อได้มากมายหลายชนิด นับตั้งแต่เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กมากลงไปจนถึงสัตว์เซลล์เดียว และหนอนพยาธิต่าง ๆ

.

โรคติดต่อ ในประเทศไทย

 …………ในปี พ.ศ. 2523 ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 โดยได้มีประกาศรัฐมนตรี เรื่องโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ซึ่งจากข้อมูลในปี 2559 ระบุว่า โรคติดต่อ มีดังนี้

.

โรคติดต่ออันตราย มีทั้งหมด 13 โรค (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 19 พฤษภาคม 2559)

…………คือ กาฬโรค, ไข้ทรพิษ, ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก, ไข้เวสต์ไนล์, ไข้เหลือง, ไข้ลาสซา, โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์, โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก, โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา, โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา, โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส), โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 22 มกราคม 2561)

.

โรคติดต่อ มีทั้งหมด 52 โรค (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559)

…………คือ อหิวาตกโรค, กาฬโรค, ไข้ทรพิษ, ไข้เหลือง, ไข้กาฬหลังแอ่น, คอตีบ, ไอกรน, โรคบาดทะยัก, โปลิโอ, ไข้หัด, ไข้หัดเยอรมัน, โรคคางทูม, ไข้อีสุกอีใส, ไข้หวัดใหญ่, ไข้สมองอักเสบ, ไข้เลือดออก, โรคพิษสุนัขบ้า, โรคตับอักเสบ, โรคตาแดงจากไวรัส, อาหารเป็นพิษ, โรคบิดแบซิลลารี่ (bacillary dysentery), โรคบิดอมีบา (amoebic dysentery), ไข้รากสาดน้อย, ไข้รากสาดเทียม, ไข้รากสาดใหญ่, สครับไทฟัส (scrub typhus), มูรีนไทฟัส (murine typhus), วัณโรค, โรคเรื้อน, ไข้มาลาเรีย, แอนแทร็กซ์ (antrax), โรคทริคิโนซิส (trichinosis), โรคคุดทะราด, โรคเลปโตสไปโรซิส (โรคฉี่หนู), ซิฟิลิส, หนองใน, หนองในเทียม, กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง, แผลริมอ่อน, แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ, โรคเริมที่อวัยวะเพศ, โรคหูดหงอนไก่, โรคไข้กลับซ้ำ, โรคอุจจาระร่วง, โรคเท้าช้าง, โรคเอดส์, โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก, โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (ซาร์ส), ไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา), โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา, โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (โรคเมอร์ส) และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

.

โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มีทั้งหมด 23 โรค ประกอบด้วย

…………ปัจจุบัน โรคติดต่อที่เป็นอันตรายหลายชนิดถูกควบคุมและกำจัดไปหมดแล้ว เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ ส่วน โรคติดต่อ บางชนิดยังคงพบอยู่บ้างแต่ลดความรุนแรงของโรคลง เช่น อหิวาตกโรค แต่ก็ยังคงมีโรคติดต่อหลายชนิดปรากฎอยู่ และยังพบโรคติดต่อชนิดใหม่เกิดขึ้นอยู่