MOIT2.11. คู่มือการปฏิบัติงานการร้องเรียนการปฏิบัติงานหรือให้บริการของเจ้าหน้าที่

คู่มือการปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์

การปฏิบัติงานหรือให้บริการของเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายก

๑.  หลักการและเหตุผล

                    พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ. ๒๕๔๖  ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติราชการ  มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน  โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่องานบริการที่มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในการให้บริการ  ไม่มีขั้นตอนปฏิบัติงานเกินความจำเป็น  มีการปรับปรุงภารกิจให้ทันต่อสถานการณ์  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ  และมีการประเมินผลการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ

๒.  การจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายก

                    เพื่อให้การบริหารระบบราชการเป็นไปด้วยความถูกต้อง บริสุทธิ์ ยุติธรรม ควบคู่กับการพัฒนาบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ด้วยความรวดเร็วประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม  อีกทั้งเพื่อเป็นศูนย์รับแจ้งเบาะแสการทุจริตหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายกจึงได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนขึ้นซึ่งในกรณีการร้องเรียนที่เกี่ยวกับบุคคล จะมีการเก็บรักษาเรื่องราวไว้เป็นความลับและปกปิดชื่อ      ผู้ร้องเรียนเพื่อมิให้ผู้ร้องเรียนได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อนจากการร้องเรียน

๓.  สถานที่ตั้ง

                    ตั้งอยู่  ณ  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายก ถนนศรีเมือง ตำบลเมืองนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

๔.  หน้าที่ความรับผิดชอบ

                    เป็นศูนย์กลางในการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ และให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษา     รับเรื่องปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของข้าราชการและประชาชน

๕.  วัตถุประสงค์

                    ๑.  เพื่อให้การดำเนินงานจัดการข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ของศูนย์รับร้องเรียนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายก มีขั้นตอน / กระบวนการ  และแนวทางในการปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน

                    ๒.  เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนด  ระเบียบ  หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียน ที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ

๖.  คำจำกัดความ

                    “ผู้รับบริการ”  หมายถึง  ผู้ที่มารับบริการจากส่วนราชการและประชาชนทั่วไป

                    “ผู้มีส่วนได้เสีย”  หมายถึง  ผู้ที่ได้รับผลกระทบ  ทั้งทางบวกและทางลบ  ทั้งทางตรงและทางอ้อม  จากการดำเนินการของส่วนราชการ 

                    “การจัดการข้อร้องเรียน”  มีความหมายครอบคลุมถึงการจัดการในเรื่องข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์/

ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น/คำชมเชย/การสอบถามหรือการร้องขอข้อมูล

                    “ผู้ร้องเรียน/ร้องทุกข์”  หมายถึง  ประชาชนทั่วไป/ผู้มีส่วนได้เสียที่มาติดต่อราชการผ่านช่องทางต่าง ๆ  โดยมีวัตถุประสงค์ครอบคลุมการร้องเรียน/ร้องทุกข์/การให้ข้อเสนอแนะ/การให้ข้อคิดเห็น/การชมเชย/การร้องขอข้อมูล

                    “ช่องทางการรับข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์”  หมายถึง  ช่องทางต่าง ๆ  ที่ใช้ในการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์  เช่น  ติดต่อด้วยตนเอง/ติดต่อทางโทรศัพท์/เว็บไซต์

๗.  ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวันจันทร์  ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา  ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐



๙.  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
          การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบจัดการข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ของหน่วยงาน
                    ๘.๑  จัดตั้งศูนย์ / จุดรับข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ของประชาชน
                    ๘.๒  จัดทำคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์
                    ๘.๓  แจ้งผู้รับผิดชอบตามคำสั่งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายก  เพื่อความสะดวกในการประสานงาน
๑๐.  การรับและตรวจสอบข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  จากช่องทางต่าง ๆ
                    ดำเนินการรับและติดตามตรวจสอบข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ที่เข้ามายังหน่วยงานจากช่องทางต่าง ๆ  โดยมีข้อปฏิบัติตามที่กำหนด  ดังนี้
ช่องทาง
ความถี่ในการ
ตรวจสอบช่องทาง
ระยะเวลาดำเนินการ
รับข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์
เพื่อประสานหาทางแก้ไขปัญหา
หมายเหตุ
ร้องเรียนด้วยตนเอง  ณ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายก
ทุกครั้งที่มีการร้องเรียน
ภายใน  ๑  วันทำการ
 
ร้องเรียนทางหนังสือ/ไปรษณีย์
ทุกวัน
ภายใน  ๑  วันทำการ
 
ร้องเรียนทางโทรศัพท์
0 3739 1914
ทุกวัน
ภายใน  ๑  วันทำการ
 
 
๑๑.  การบันทึกข้อร้องเรียน
                    ๑๐.๑  กรอกแบบฟอร์มบันทึกข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  โดยมีรายละเอียด  ชื่อ-สกุล  ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ  เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์  และสถานที่เกิดเหตุ
                    ๑๐.๒  ทุกช่องทางที่มีการร้องเรียน  เจ้าหน้าที่ต้องบันทึกข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ลงสมุดบันทึกข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์
๑๒.  การประสานหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  และการแจ้งผู้ร้องเรียน / ร้องทุกข์ทราบ
                    ๑๒.๑  กรณีเป็นการขอข้อมูลข่าวสาร  ประสานหน่วยงานผู้ครอบครองเอกสาร  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ร้องขอได้ทันที
                    ๑๒.๒  ข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ที่เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของหน่วยงาน  ในสังกัดคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จัดทำบันทึกข้อความเสนอไปยังผู้บริหารเพื่อสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยเบื้องต้นอาจโทรศัพท์แจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สำหรับเรื่องร้องเรียนด้านมลภาวะขยะ     เหตุรำคาญ  จัดทำบันทึกข้อความเสนอนายอำเภอเมืองนครนายกเพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ
                    ๑๒.๓  ข้อร้องเรียนที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงาน  เช่น  กรณี  ผู้ร้องเรียนทำหนังสือร้องเรียนความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง  ให้เจ้าหน้าที่จัดทำบันทึกข้อความเพื่อเสนอผู้บริหารพิจารณาประสานงานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ  เพื่อดำเนินการตรวจสอบและแจ้งผู้ร้องเรียนทราบ  ต่อไป
๑๓.  การติดตามแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน
          ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินการให้ทราบภายใน  ๕  วันทำการ  เพื่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ  จะได้แจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบ  ต่อไป
๑๔.  การรายงานผลการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบ
          ๑๓.๑  ให้รวบรวมและรายงานสรุปการจัดการข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์  ให้ผู้บริหารทราบทุกเดือน
          ๑๓.๒  ให้รวบรวมรายงานสรุปข้อร้องเรียนหลังจากสิ้นปีงบประมาณ  เพื่อนำมาวิเคราะห์การจัดการข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ในภาพรวมของหน่วยงาน  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข  ปรับปรุง  พัฒนา  องค์กร  ต่อไป
๑๕.  มาตรฐานงาน
          การดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์  ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดกรณีได้รับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์  ให้ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครนายก ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน / ร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายใน     ๑๕  วันทำการ